Theera Music

ระบบอัดเสียง V-Studio

2002 เป็นปีที่ Roland ไม่ได้ออกเครื่องดนตรีเด่นมากมาย แต่เป็นปีที่ Roland ระดมเทคโนโลยีที่มี มุ่งไปที่ตลาดระบบอัดเสียง Hard Disk 
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในเครื่องอัดเหล่านี้ติดต่อกันมาหลายปี VS-2480 CD คือสุดยอดเครื่องอัดของ Roland ที่มากับระบบปฏิบัติการของตัวเอง 
โดยไม่ต้องพึ่งพาคอม ซึ่งในสมัยนั้นมักจะมีปัญหาแฮงค์บ่อยๆเวลาใช้อัดเสียง มากับ 24 แทรค และ Virtual Track ถึง 384 
ระบบในตัวสามารถต่อจอคอม มาทำงานให้สะดวกขึ้น แถมต่อเม้าส์ ต่อคีย์บอร์ด อัดแผ่น CD ในตัวเสร็จสรรพ พูดง่ายๆก็คือคอมตัวนึง 
แต่ไม่ต้องยุ่งกับ Windows ที่มักสร้างปัญหาเวลาอัดในสมัยนั้น ในส่วนของซินธ์และซาวด์โมดูลนั้น Roland ได้ออกโมดูลรุ่นเล็กของโมดูลรุ่นใหญ่สุดในทศวรรษนี้ XV-5080 ออกมา
 โดยใช้ชื่อว่า XV-5050 และ XV-2020 โดยตัดฟังก์ชั่นเล่นซาวด์แซมป์ และใส่การ์ดเพิ่มเสียงได้น้อยลง แต่ก็เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น จึงได้รับความนิยมมากทีเดียวในตอนนั้น
ขณะที่ในส่วนของ Groove Box ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในตอนนั้น Roland ก็ได้ผลิต รุ่นใหญ่สุด จนถึงตอนนี้ MC-909 ประกอบด้วยซีเควนซ์ 16 Parts
โดยได้ซาวด์จาก XV-5080 และเป็นแซมป์ในตัวด้วย เรียกว่าครบเครื่องที่สุดในยุคนั้น ขณะเดียวกันก็ออกโมดูลซินธ์ขนาด Table Top ออกมาเป็นครั้งแรกในรหัส SH-32 
สำหรับคนทื่ชื่นชอบซาวด์ของซินธ์ SH ในสมัยยุค 70 และ 80 เครื่องอีกชนิดที่สำคัญในปีนี้ก็คือ ออร์แกน VK-8 นำเทคโนโลยี Modeling ออร์แกนมาพัฒนาเพิ่มเติม 
จนเป็นรากฐานของ เทคโนโลยี Virtual Tone Wheel Organ ที่จะอยู่ใน RD-2000 และ FANTOM ในปัจจุบัน
ในส่วนของ Guitar Synth นั้น ปีนี้ Roland ได้นำระบบ Modeling ไปใช้กับ BASS จนกลายเป็น ระบบ V-BASS ที่ประกอบด้วยคอนแทคเบส และโมดูล 
ซึ่งสามารจำลองเบส หัวแอมป์ และเอฟเฟคมากมาย ซึ่งต่อมาระบบนี้จะถูกพัฒนาเพิ่มเติมในมัลติเอฟเฟครุ่นหลังๆรวมทั้งตู้ KATANA BASS ที่เพิ่งออกมาในปีนี้
BOSS เอง ออกก้อน มาเยอะเลย อย่างเช่น BF-3 Flanger, DD-6 Delay, RV-5 Reverb และพวก Twin Pedal อย่างเช่น OD-20 Drive Zone
และในส่วนของคอมพิวเตอร์มิวสิคนั้น Roland ยังได้ออก Interface ทั้ง Midi และ Audio ออกมาอีกนับสิบรุ่น 
แต่สิ่งที่คนจฮือฮาที่สุดตอนนั้น ก็คือ ซอฟท์แวร์ Sound Canvas ซึ่งทำให้คนที่อยากเล่นคาราโอเกะในคอม สะดวกขึ้นมาก 
แม้คุณภาพซาวด์จะสู้โมดูลจริงๆไม่ได้ก็ตาม จากตอนนั้นถึงตอนนี้ เจ้าซอฟท์แวร์ก็ถูกพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็น Roland Cloud ในปัจจุบัน