Theera Music

Sound Canvas และ GM/GS ถือกำเนิด

เจ้ากล่องเล็กๆตัวนี้ เปลี่ยนแปลงวงการดนตรีในยุค 90 หลังจาก Roland ร่วมสร้าง MIDI ให้เครื่องต่างยี่ห้อเชื่อมกันได้ ในปี 1983 
แต่ปัญหายังคงเกิดขึ้นจากการที่แต่ละยี่ห้อมีการตั้งเบอร์เสียงไม่เหมือนกัน เชื่อมกันได้จริงแต่พอเอาซีเควนซ์ที่ทำกับยี่ห้อนึงไปเล่นกับยี่ห้อนึง คือเละ
ท่านอดีตประธาน จึงประชุมร่วมกับผู้ผลิตเครื่องดนตรีไฟฟ้าของญี่ปุ่นและเมกา เพื่อหาโครงสร้างเบอร์เสียงที่เหมือนกัน เพื่อที่จะทำให้ซีเควนซ์ที่ทำจากยี่ห้อนึง 
เล่นกับยี่ห้ออื่นได้ ในปี 1991 ซาวด์ GM หรือ General MIDI 128 เสียงจึงเกิดขึ้นสำหรับ Roland แล้ว 128 เสียงเป็นเพียงแค่โครงสร้างหลัก แต่จำนวน 128 เสียง น้อยเกินไป 
สำหรับนักดนตรีที่ต้องการความหลากหลายในการครีเอทเพลง Roland จึงสร้างมาตรฐานเพิ่มขึ้นมาอีกมาตรฐาน GS หรือ General Standard 
โดยการเพิ่มเสียงครอบมาตรฐาน GM 128 เสียงจนเป็น 315 เสียง Sound Canvas หรือ SC-55 คือโมดูลตัวแรกของโลกที่ใช้ซาวด์ตามแบบ GM และเป็นโมดูลแรกของโลกที่มี GS เช่นกัน 
ขนาดพกพาง่าย มีครบ 16 พาร์ท จึงกลายเป็นสิ่งที่นักดนตรีที่ใช้ซีเควนซ์ต้องมีใช้กันทั่วโลก Sound Canvas เอง ออกลูกหลานต่อมาอีกหลายรุ่น 
นับเป็นซาวด์โมดูลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ดนตรี ในปีเดียวกัน Roland ก็ได้ออกซินธ์ตำนานมาอีกรุ่น Jupiter Digital หรือ JD-800
 ออกมาหลังจากคนเริ่มเบื่อซินธ์หน้าตาเรียบๆปุ่มน้อยๆ เพราะรู้แล้วว่าปรับไม่สะดวก ด้วยเวฟ 108 เวฟและฟิลเตอร์ที่ปรับง่ายและให้ซาวด์ที่หนา 
JD-800 จึงเป็น 1 ในตำนาน Roland ที่คนยังต้องการเสาะหามาเล่นในปัจจุบัน ในปีนี้ Roland ได้แสดงความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยีซาวด์ให้โลกตะลึงอีกครั้ง 
ด้วยระบบ 3D Roland Sound Space ทำให้คนดีไซน์เสียงสามารถ วางตำแหน่งซาวด์ที่ต้องการได้ 360 องศา จากลำโพงแค่คู่เดียว 
เสียดายที่เทคโนโลยีนี้แพงมากในสมัยนั้น แต่ก็เป็นจุดกำเนิดของระบบซาวด์ 3D ของหลายๆยี่ห้อในภายหลังในส่วนของรุ่นดังอื่นๆที่ออกในปีนี้ก็อาทิ 
MT-2 Metal Zone, CE-5 Ensemble Chorus, JX-1 Synthesizer, SB-55 Sequencer ไซส์ขนาด Sound Canvas เป็นต้น