Theera Music

D-10 และ D-20 รุ่นฮิตในไทยปลายยุค 80

หลังจากออก D-50 ซึ่งเป็นซินธ์โซโล่รุ่นท๊อป แต่ไม่สามารถพ่วงซีเควนซ์ทำเพลงจบในตัวเดียวปีที่แล้ว ปีนี้ Roland ได้ออกซินธ์ ออกมา 2 รุ่น เพื่อให้ใช้งานกับซีเควนซ์ได้
D-10 และ D-20 ใช้เทคโนโลยีซาวด์เดียวกับโมดูล MT-32 ที่ออกมาปีที่แล้ว จึงมี 8 parts + กลอง เช่นกัน และมีแพทเทิร์นกลองให้ด้วย นอกจากนั้น D-20 ยังสามารถทำและเล่นซีเควนซ์จากดิสค์ได้ด้วย 
นับเป็น workstation ตัวแรกของโลก ที่มีซินธิไซเซอร์หลายพาร์ท จังหวะกลอง และซีเควนซ์ที่ใส่ดิสค์ได้รวมกันในตัวเดียว D-10 และ D-20 ออกมาในราคาที่ไม่สูงมาก 
ถูกกว่าซินธ์ตัวหลักของทุกยี่ห้อ และด้วยคุณสมบัติที่ตอบโจทย์เล่นหรือต่อกับซีเควนซ์ได้ จึงกลายเป็นซินธ์ที่คนไทยเล่นกันน่าจะมากกว่าซินธ์ตัวดังๆในสมัยนั้นซะอีก
ในขณะเดียวกัน Roland ก็ได้เริ่มทำคีย์บอร์ดจังหวะออกมาเป็นครั้งแรกในปีนี้ จากสมัยก่อนหน้านี้ ที่คีย์บอร์ดจังหวะมักจะมองว่าเป็นของฝึกหัด ทุกยี่ห้อดังในสมัยนั้น 
จึงทำคีย์บอร์ดแต่รุ่นที่มีเสียงและจังหวะสู้ซินธ์ดีๆไม่ได้ Roland เล็งเห็นถึงจุดนี้ และนำความได้เปรียบในด้านซาวด์ชิป MT-32 ซึ่งเสียงดีกว่าคีย์บอร์ดจังหวะในสมัยนั้นมาก 
มาผสมกับความเชี่ยวชาญในการทำจังหวะเบสคอร์ดของทีมวิศวกรคีย์บอร์ดชาวอิตาเลียนจากบริษัท Siel ที่ได้ซื้อมาปีก่อนหน้าคีย์บอร์ดจังหวะ E-10 และ E-20 Intelligent Synthesizer จึงเกิดขึ้น 
และทำให้ Roland เป็นผู้นำด้านคีย์บอร์ดจังหวะเป็นเวลานับสิบกว่าปีหลังจากนั้น ในปีนี้เช่นกัน BOSS หลังจากที่เคยออก มัลติเอฟเฟคในแบบแร๊คตัวแรก Roland GP-8 ในปีที่แล้ว 
ปีนี้ BOSS ได้ออก Multi-effect แบบแผง ที่สามารถเซฟค่าพาราเมเตอร์ต่างๆของเอฟเฟค 8 ชนิดในแต่ละโปรแกรมได้ครั้งแรกขึ้นมา 
ในชื่อรุ่น ME-5 และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความเป็นผู้นำด้านมัลติเอฟเฟคของ BOSS จนถึงปัจจุบัน